พระปรมาภิไธยย่อ
"พระปรมาภิไธย
หมายถึงชื่อของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ
ทูลเกล้าฯ
ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ทรงมีพระปรมาภิไธย
ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร'
พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ท่านยาว ๆ ทั้งนั้น
รัชกาลนี้น่ะสั้นแล้ว
ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระปรมาภิไธยยาวกว่านี้มาก
เขียนเต็มหน้ากระดาษเลยที
เดียว
ดังนั้นการเอ่ยอ้างพระปรมาภิไธยจึงกล่าวแต่เพียงคำนำหน้าที่เรียกกันว่าพระ
ราชฐานันดรนาม เช่น
'พระบาทสมเด็จพระปรมินทร' หรือ ปรเมนทร
ต่อด้วยพระปรมาภิไธยประโยคต้นประโยคเดียว แล้วทำ
เครื่องหมายไปยาลไว้
จากนั้นจะเชิญสร้อยพระปรมาภิไธยประโยคท้ายมาต่อก็ได้
เช่นรัชกาลปัจจุบันอาจออก
ขานพระปรมาภิไธยเพียงว่า
'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรม
นาถบพิตร'
ก็ได้ ที่มาย่อเป็นตัวอักษร ๓ ตัว คือ ภปร นั้น เรียกกันว่าพระปรมาภิไธยย่อ
ภ ย่อมาจากพระ
ปรมาภิไธยประโยคแรก คือ 'มหาภูมิพลอดุลยเดช' ส่วน ปร หมายถึง
ปรมราชาธิราช ในการลงพระ
ปรมาภิไธยในเอกสารทางราชการ
พระมหากษัตริย์ทรงเซ็นเฉพาะพระปรมาภิไธยประโยคแรก และต่อด้วย
คำว่า ปร เช่น
รัชกาลที่ ๕ ทรงเซ็นว่า 'จุฬาลงกรณ ปร' รัชกาลที่ ๗ ทรงเซ็นว่า 'ประชาธิปก
ปร' รัชกาล
ปัจจุบันทรงเซ็นว่า 'ภูมิพลอดุลยเดช ปร'
เมื่อได้พูดถึงพระปรมาภิไธยย่อมาแล้ว
ก็เลยขอกล่าวถึงพระปรมาภิไธยย่อในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวกรุงรัตน
โกสินทร์ เพื่อทราบไว้พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาด้วย
รัชกาลที่ ๑ ใช้อักษรย่อว่า 'จปร' ย่อมาจาก 'มหาจักรีบรมนาถ ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๒ ใช้อักษรย่อว่า 'อปร' ย่อมาจาก 'มหาอิศรสุนทร ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๓ ใช้อักษรย่อว่า 'จปร' ย่อมาจาก 'มหาเจษฎาบดินทร ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๔ ใช้อักษรย่อ 'มปร' ย่อมาจาก 'มหามงกุฎ ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๕ ใช้อักษรย่อ 'จปร' ย่อมาจาก 'มหาจุฬาลงกรณ ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๖ ใช้อักษรย่อ 'วปร' ย่อมาจาก 'มหาวชิราวุธ ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๗ ใช้อักษรย่อ 'ปปร' ย่อมาจาก 'มหาประชาธิปก ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๘ ใช้อักษรย่อ 'อปร' ย่อมาจาก 'มหาอานันทมหิดล ปรมราชาธิราช'
รัชกาลที่ ๙ ใช้อักษรย่อ 'ภปร' ย่อมาจาก 'มหาภูมิพลอดุลยเดช ปรมราชาธิราช'
โปรดสังเกตดูอักษรพระปรมาภิไธยย่อจะซ้ำกันบ้างเป็นบางรัชกาล
เพื่อจะให้ทราบว่าเป็นรัชกาลใด
เวลา
ประดิษฐ์เป็นตราท่านใส่หมายเลขประจำรัชกาลไว้ในระหว่างพระจอนพระมหา
มงกุฎ ถ้าเขียนเป็นข้อความอาจมี
เลขประจำรัชกาลต่อท้ายเมื่อจำเป็น"
อ้างอิง : ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ประเภทปรัชญา สาขาวิชาตรรกศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔๓, ธันวาคม ๒๕๓๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น